หนองใน

 “โรคหนองใน”คือ  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถพบได้บ่อยมากเป็นอันดับแรกสุด คือ พบได้ประมาณ  40 - 50% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งสามารถติดต่อจากคู่นอนระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก  โดยการแพร่เชื้อนั้นอาจเกิดได้แม้จะไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิ โรคหนองใน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

2.โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis)หรือ NSU เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หนองในแท้ หนองในเทียมมักไม่ค่อยมีอาการหรือมีอาการรุนแรงน้อยกว่า และมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียนานกว่าหนองในแท้

สาเหตุของหนองในเทียม

หนองในเทียม เชื้อส่วนใหญ่ที่พบมากในผู้ที่เป็นโรคหนองในเทียม ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis และ เชื้อยูเรียพลาสม่าสายพันธ์ุ Ureaplasma urealyticum​  จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อสามารถแพร่ติดต่อได้หลายทาง เช่น ทางอวัยวะเพศ ทางทวารหนัก ทางปาก หรือแม้กระทั่งทางตา หากมีสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่ รวมไปถึงการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยง

ชายร่วมประเวณีกับหญิงที่มีเชื้อหนองในจะติดเชื้อประมาณ 30 % ส่วนหญิงร่วมประเวณีกับชายที่มีเชื้อหนองใน จะมีโอกาสจะติดเชื้อประมาณ 80 %



#อาการหนองในในเพศชาย

- มีมูกใสหรือขุ่นไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ ซึ่งไม่ใช่ปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ

- มีอาการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

- รู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ

- รู้สึกปวดหรือมีการบวมที่ลูกอัณฑะ

#อาการหนองในในเพศหญิง มักแสดงอาการดังต่อไปนี้

- มีตกขาวลักษณะผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น

- รู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ

- รู้สึกคันหรือแสบร้อนบริเวณรอบอวัยวะเพศ

- รู้สึกเจ็บท้องน้อยเวลามีประจำเดือนหรือขณะมีเพศสัมพันธ์

ภาวะแทรกซ้อน


ควรพบแพทย์เมื่อไร?

หากมีอาการปัสสาวะแสบขัด หรือมีอาการปวด หรือผื่นขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ควรหยุดการมีเพศสัมพันธ์ แล้วรีบปรึกษาแพทย์ ถ้าแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนองใน และหลังได้รับการรักษาแล้ว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีก ควรแจ้งให้คู่นอนมารับการรักษาด้วย และให้งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายดีแล้ว

การรักษา : การรักษาโรคหนองใน คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งใช้ได้ผลดี แต่ในหลายพื้นที่อาจมีเชื้อดื้อยาได้ ดังนั้น หลังการรักษา ถ้ายังคงมีอาการ จึงควรต้องกลับมาปรึกษาแพทย์อีกครั้ง สำหรับในผู้หญิงที่มีอาการหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ ร่วมกับมีไข้สูง ปวดท้องน้อย ขัดเบา ตกขาว อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง

นอกจากนั้น จำเป็นต้องตรวจหาการติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วยโดยเฉพาะ เชื้อ เอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์


การปฏิบัติ และ การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

1. งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหายทั้งผู้ป่วยและคู่นอน ถ้าจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัย

2. รับประทานยา หรือรับการรักษาจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์

3. ดูแลความสะอาดร่างกาย และความสะอาดของเสื้อผ้า ชุดชั้นใน ไม่ใส่ซ้ำ ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

4. ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่ายโดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง แล้วซับให้แห้งด้วยผ้าหรือทิชชูที่สะอาด

5. มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

6. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีหนองไหลจากอวัยวะสืบพันธุ์ ควรไปพบแพทย์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

7. หากคู่นอนมีอาการน่าสงสัย ควรแนะนำ พามาพบแพทย์ และใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์