HIV

โรคเอดส์คือ

โรคเอดส์คือ อาการของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) โดยเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Human Immunodeficiency Virus  หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า เชื้อเอชไอวี (HIV) 

เชื้อไวรัสเอดส์นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมคือ เอชไอวี 1 (HIV-1) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่แพร่ระบาดอยู่ใน ยุโรป แอฟริกากลาง และสหรัฐอเมริกา ส่วนเอชไอวี 2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก 

แต่ปัจจุบันเริ่มมีการพบสายพันธุ์ 1 และ 2 ในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก

โรคเอดส์คือ

เชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเม็ดเลือดขาวในร่างกายทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายแล้วนำไปทำลาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย จึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอชไอวี มีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนในที่สุดร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก จึงทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ ส่งผลให้เป็นโรคอื่นๆ ตามมา อาทิ วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อรา และอีกมากมายหลายโรค ที่เป็นเช่นนี้ เพราะระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย จึงไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายได้นั้นเอง 

HIV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

HIV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CD4 (ซีดีโฟร์) ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น รวมทั้งมะเร็งบางชนิดได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่ยังมีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดีพอสมควร เราจะเรียกว่า “ผู้ติดเชื้อ HIV” และผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง  จนกระทั่งมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสเราจะเรียกว่า “ผู้ป่วยเอดส์” 

เมื่อป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแล้ว ต้องรับการรักษา รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นซ้ำ จนกว่าระดับภูมิคุ้มกันโรคหรือ CD4 จะสูงขึ้นเพียงพอที่จะป้องกันร่างกายจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและเพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อ HIV ได้ในระดับหนึ่งด้วยภูมิของร่างกายเอง  

การแพร่เชื้อ HIV

เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสเลือด  น้ำเหลือง น้ำอสุจิ  น้ำในช่องคลอด  ส่วนน้ำลาย เสมหะและน้ำนมมีปริมาณเชื้อ HIV น้อย  สำหรับเหงื่อ ปัสสาวะและอุจจาระแทบไม่พบเลย ทั้งนี้มีช่องทางการติดต่อที่สำคัญ ได้แก่

เชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อได้อย่างไร ?

เชื้อเอชไอวีสามารถพบได้ในเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนมของผู้ที่ติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเอชไอวีผ่านทางเยื่อบุ หรือผิวหนังที่มีบาดแผล ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยหลัก ๆ มี 3 ทางดังนี้

เชื้อเอชไอวีไม่ติดต่อจากการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การจับมือ การกอด การรับประทานอาหารร่วมกัน รวมทั้งไม่ติดต่อผ่านการถูกยุงกัด  นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส จะสามารถลดปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ จนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยทั่วไปใช้เวลา 6 เดือน หลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่จะกดปริมาณไวรัสลงจนแทบจะตรวจไม่พบ หลังจากนั้นโอกาสที่จะถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีไปที่คนอื่น ๆ เช่น คู่นอน หรือ ลูก จะลดลงอย่างมาก ดังที่อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า ตรวจไม่พบเชื้อ = ไม่แพร่เชื้อ 


เชื้อเอชไอวีไม่ติดต่อจากการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป

เช่น การจับมือ การกอด การรับประทานอาหารร่วมกัน รวมทั้งไม่ติดต่อผ่านการถูกยุงกัด  นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส จะสามารถลดปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ จนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยทั่วไปใช้เวลา 6 เดือน หลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่จะกดปริมาณไวรัสลงจนแทบจะตรวจไม่พบ หลังจากนั้นโอกาสที่จะถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีไปที่คนอื่น ๆ เช่น คู่นอน หรือ ลูก จะลดลงอย่างมาก ดังที่อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า 

ตรวจไม่พบเชื้อ = ไม่แพร่เชื้อ  



ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสเชื้อในแต่ละครั้งมีโอกาสเสียงมากน้อยเพียงใด

1.การรับเลือด (1 ยูนิต) 92.5 %
2.การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน 0.67-0.80 %
3.ฝ่ายรับทางทวารหนัก 1-30%
4.ฝ่ายรุกทางทวารหนัก 0.1-10%
5.ฝ่ายรับทางช่องคลอด 0.1-10%
6.ฝ่ายรุกทางช่องคลอด 0.1-1%
7.ฝ่ายรับทางปาก (การทำออรัลกับอวัยวะเพศชาย) 0-0.04%
8.ฝ่ายรุกทางปาก (การถูกออรัลอวัยวะเพศชาย) 0-0.005%
9.การใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิง มีโอกาสแต่น้อยมากๆๆ
10.เข็มที่มีเลือดติด ตำเข้าผิวหนัง 0.3%
11.เยื่อบุ 0.09%


*มีการประมาณว่าโอกาสถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก สูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดถึง 18 เท่า


10 สัญญาณเตือน อาการ HIV

ระยะของการติดเชื้อ HIV

ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ HIV ในช่วงแรกที่ติดเชื้อปริมาณไม่มาก และยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมาอาจยังตรวจหาเชื้อหรือภูมิต้านทานต่อเชื้อไม่พบ  ซึ่งอาจเป็นช่วงตั้งแต่ 2-12 สัปดาห์ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ หนาวสั่น  เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว  น้ำหนักลด หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก อาการเหล่านี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปได้เอง และเนื่องจากอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่หรือไข้ทั่วไป ผู้ติดเชื้ออาจซื้อยากินเองหรือไปพบแพทย์ก็อาจไม่ได้รับการตรวจเลือด นอกจากนี้บางรายหลังติดเชื้ออาจไม่มีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็น  ดังนั้นผู้ติดเชื้อบางรายจึงอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ในระยะนี้

ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อมักจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และสารภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนี้ จึงสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เรียกว่าเป็นพาหะ (Carrier) ระยะนี้แม้ว่าจะไม่มีอาการแต่เชื้อ HIV จะแบ่งตัวเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ และทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคจนมีจำนวนลดลง เมื่อลดต่ำลงมาก ๆ ก็จะเกิดอาการเจ็บป่วย ทั้งนี้อัตราการลดลงของระบบภูมิคุ้มกันโรคจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ HIV และสภาพความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันโรคของผู้ติดเชื้อเอง ระยะนี้คนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 85 มักเป็นอยู่นาน 5-10 ปี แต่มีกลุ่มผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10 ที่ระยะนี้อาจสั้นเพียง 2-3 ปี ซึ่งเรียกว่า กลุ่มที่มีการดำเนินโรคเร็ว (Rapid progressor) ในขณะที่ประมาณร้อยละ 5 จะมีการดำเนินโรคช้า  โดยบางรายอาจนานกว่า 10-15 ปีขึ้นไป เรียกว่า กลุ่มที่ควบคุมเชื้อได้ดีเป็นพิเศษ (Elite controller)

ระยะติดเชื้อที่มีอาการ  ผู้ป่วยจะมีอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันโรค ดังนี้

อาการเล็กน้อย ระยะนี้ถ้าตรวจระดับ CD4 มักจะมีจำนวนมากกว่า 500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร  ผู้ป่วยอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโตเล็กน้อย  โรคเชื้อราที่เล็บ  แผลร้อนในในช่องปาก  ผิวหนังอักเสบชนิดเกล็ดรังแคที่ไรผม ข้างจมูก  ริมฝีปาก  ฝ้าขาวข้างลิ้นซึ่งขูดไม่ออก โรคสะเก็ดเงินที่เคยเป็นอยู่เดิมกำเริบ

อาการปานกลาง ระยะนี้ถ้าตรวจระดับ CD4 มักจะมีจำนวนระหว่าง 200-500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ผู้ป่วยอาจมีอาการดังนี้  เริมที่ริมฝีปากหรืออวัยวะเพศ  ซึ่งกำเริบบ่อยและเป็นแผลเรื้อรัง  งูสวัด  โรคเชื้อราในช่องปากหรือช่องคลอด ท้องเสียบ่อยหรือเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน  มีไข้เป็น ๆ หาย ๆ หรือติดต่อกันทุกวันนานเกิน 1 เดือน  ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 1 บริเวณ (เช่น คอ รักแร้ และขาหนีบ) นานเกิน 3 เดือน  น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ  ปวดกล้ามเนื้อและข้อ  ไซนัสอักเสบเรื้อรัง  ปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

ระยะป่วยเป็นเอดส์ (เอดส์เต็มขั้น) ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของผู้ป่วยเสื่อมเต็มที่ ถ้าตรวจระดับ CD4 จะพบว่ามักมีจำนวนต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร เป็นผลทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว วัณโรค ฉวยโอกาสเข้ารุมเร้าเรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อที่รักษาค่อนข้างยากและอาจติดเชื้อชนิดเดิมซ้ำ หรือชนิดใหม่หรือหลายชนิดร่วมกัน ระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการดังนี้  มีไข้เรื้อรังติดต่อกันหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ไอเรื้อรังหรือหายใจหอบเหนื่อยจากวัณโรคปอดหรือปอดอักเสบ ท้องเสียเรื้อรังจากเชื้อราหรือโปรโตซัว น้ำหนักลด รูปร่างผอมแห้งและอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบากหรือเจ็บเวลากลืนเนื่องจากหลอดอาหารอักเสบจากเชื้อรา สายตาพร่ามัว มองไม่ชัดหรือเห็นเงาหยากไย่ลอยไปลอยมา ตกขาวบ่อยในผู้หญิง มีผื่นคันตามผิวหนัง ซีด มีจุดแดงจ้ำเขียวหรือเลือดออกจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ สับสน ความจำเสื่อม หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ พฤติกรรมผิดแปลกจากเดิมเนื่องจากความผิดปกติของสมอง ปวดศีรษะรุนแรง ชัก สับสน ซึม หรือหมดสติจากการติดเชื้อในสมอง อาการของโรคมะเร็งที่เกิดแทรกซ้อน เช่น มะเร็งของผนังหลอดเลือด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในสมอง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก เป็นต้น

ทั้งนี้ อาการของผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์อาจมีอาการที่คล้ายคลึงกับโรคอื่นได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดว่า ติดเชื้อ HIV หรือไม่ จึงควรทำการตรวจเลือดหาการติดเชื้อ HIV


ตุ่ม PPE


อาการตุ่ม PPE ของผู้ติดเชื้อ hiv คืออาการที่แสดงว่าผุ้ติดเชื้อ hiv คนนั้นมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์แล้วคะ

โดยมากผู้ติดเชื้อ hiv ที่แสดงอาการตุ่มPPE จะมีระดับ CD4 ต่ำกว่า 75 cell/ml หรือ CD4 % ต่ำกว่า 5%

ส่วนลักษณะของตุ่ม PPE นั้นจะเกิดเมื่อผิวหนังไปสัมผัสสิ่งที่แพ้และจะมีลักษณะคล้ายตุ่มยุงหรือมดกัด

จะเป็นตุ่มเม็ดใครเม็ดมันมีระยะห่างเท่า ๆ กัน ไม่มีลักษณะเป็นผื่น

ตุ่มคันจะขยายขนาดกว้างออกมากกว่า 5 มม. มีอาการคันมาก ๆ รอยนูนของตุ่มจะใช้เวลายุบลงนานมาก และเมื่อตุ่มยุบลงแล้วจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้และจะใช้เวลานานหลายวัน หากบางคนเกาจนเป็นแผลเป็น

ก็อาจใช้เวลาเป็นปีที่รอยแผลเป็นจะจางลงหรือหายไป

แต่บางคนรอยแผลเป็นจุดดำจากตุ่ม PPE ก็ไม่หายไปก็มีค่ะ แค่จางลง ฉะนั้นอย่าเกาให้เป็นแผล

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็น PPE นั้น สิ่งแรกคือรีบไปพบแพทย์ที่รักษาเราอยู่

เพราะผู้ติดเชื้อ hiv ที่เกิดเป็น PPE แล้วนั้น แสดงว่า CD4 ต่ำกว่า 200 cell/ml

ต้องรักษาที่ต้นเหตุ คือ กินยาต้าน เพื่อเพิ่มให้ภูมิคุ้มกันเกิน 200 cell/ml คะ

PPE เป็นตุ่มคันที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคใด ๆแต่ เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภูมิคุ้มกันน้อย

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันก็จะกรูกันเข้าไปต่อต้าน จึงเกิดปฎิกิริยา อย่างรุนแรง

ทำให้เกิดตุ่มคันขึ้น ซึ่งจะมีอาการคันมาก ๆ และจะยุบหรือหายจากอาการคันนานมากหลายวัน

เมื่อหายแล้วยังทิ้งรอยแผลเป็นไว้ด้วยค่ะ

- ดังนั้นการใช้ยาทาและการกินยา รักษาอาการคันนั้น เป็นการแก้ที่ปลายเหตุและเป็นการรักษาแบบชั่วคราว

ไม่ได้ทำให้ตุ่มคัน PPE หายขาด การที่จะทำให้ตุ่มคันหายขาดและไม่มีโอกาสเกิดได้อีก

คือการทำให้ภูมคุ้มกันหรือ CD4 เราสูงมากขึ้น โดยหากเกิน 200 cell/ml โอกาสเกิด PPE น้อยมากแทบไม่มีเลยค่ะ

สรุปสุดท้ายคือ

ตุ่มคัน PPE จะเกิดเมื่อผู้ติดเชื้อ hiv มีระดับ CD4 ลดลงต่ำมาก ๆโดยมากจะมีระดับ CD4 ต่ำกว่า 75 cell/ml หรือ CD4% ต่ำกว่า 5 % ครับ

ส่วนมากเกิดกับผู้ที่ยังไม่กินยาต้าน ทำให้รู้ว่ามีอาการสัมพันธ์กับเอดส์แล้ว

และผู้ที่เป็น PPE จะต้องเริ่มยาต้านเมื่อกินยาต้านแล้ว ไม่ใช่ว่าจะหายจากการเกิดตุ่ม PPE ทันทีเลย

ต้องใช้เวลาจนกว่า CD4 จะสูงมากขึ้น หากสูงเกิน 200 cell/ml ได้เร็วโอกาสเกิดก็จะน้อยลงหรือไม่เกิดอีก

สำหรับการใช้ยาทา ยากิน เป็นการบรรเทาอาการคันแต่ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง


โรคเอดส์รักษาได้ไหม?

สำหรับเทคโนโลยีการแพทย์ปัจจุบัน เรายังไม่สามารถรักษา HIV ให้หายขาดได้ ถ้าร่างกายเราได้รับเชื้อ HIV เข้าไปก็จะมีเชื้ออยู่ในร่างกายตลอดไป 

แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการพัฒนายาที่สามารถชะลออาการเเละความรุนแรงของ HIV ได้ โดยยาที่ใช้ในการรักษาประกอบด้วยการใช้ยาต้านไวรัสหลากหลายชนิด (เรียกรวมๆ ว่า antiretroviral drug หรือ ARV) รวมกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือที่เรียกว่า antiretroviral therapy (ART) วิธีการรักษานี้จะช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส ซึ่งจะช่วยยืดเวลาให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น อีกทั้งยังลดโอกาสในการแพร่เชื้อต่อไปด้วย การใช้ยา ARV นั้นไม่ได้เพียงแต่ช่วยชะลอโรคในผู้ติดเชื้อเพียงเท่านั้น หากยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งก่อน (Pre-exposure prophylaxis หรือ PEP) เเละหลังสัมผัสโรค (Post-exposure prophylaxis หรือ PrEP) 

หากคิดว่าตนเองได้รับเชื้อมา สามารถใช้ยา PEP เพื่อลดความเสี่ยงของการติดโรค การใช้ยานี้อย่างรวดเร็วภายในสามวันหลังรับเชื้อ จะช่วยป้องกันการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนี้ สำหรับคนที่ยังไม่ได้รับเชื้อ แต่มีความเสี่ยง สามารถใช้ยา PrEP โดยเเนะนำว่าให้รับประทานยาทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ  HIV 

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพิ่ม CD4 ได้จริงหรือ?

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพิ่ม CD4 ได้จริงหรือ?

"การรักษาเอชไอวีโดยใช้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพียงพอที่จะยับยั้งปริมาณไวรัสในร่างกาย เมื่อปริมาณไวรัสลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ จำนวนเม็ดเลือดขาว หรือ CD4 ก็จะสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้โดยธรรมชาติ และสามารถมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงได้เทียบเท่ากับคนที่ไม่มีเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ เลย"



การรักษาผู้ที่ติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์มีวิธีการอย่างไร?

ทันทีที่ผู้รับการตรวจ HIV ได้รับการยืนยันผลการตรวจเลือดเป็นบวก หรือติดเชื้อ HIV แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสในกลุ่ม ARV (Antiretroviral drugs) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เพื่อต่อสู้ และช่วยกันยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส HIV โดยการให้ยาในกลุ่มนี้พร้อมกันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากกว่าการรักษาด้วยยาชนิดเดียว กลุ่มยา ARV จะช่วยกันออกฤทธิ์ เสริมแรง ในการลดจำนวนเชื้อไวรัส HIV ให้ถึงจำนวนที่ไม่สามารถตรวจพบเชื้อ HIV ได้อีกต่อไป พร้อมกับช่วยฟื้นฟูและชะลอความเสื่อมของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นปกติดีให้มากที่สุด

ผู้ที่สงสัยว่าอาจติดเชื้อ HIV ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสโรค (Post-exposure prophylaxis: PEP) ควรรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับยา ARV เพื่อต้านเชื้อไวรัส และป้องกันไม่ให้ไวรัสพัฒนาไปอยู่ในระดับที่ตรวจพบและแสดงอาการได้

ผู้ที่ไม่มีเชื้อ HIV ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV สามารถพบแพทย์เพื่อขอรับยา ARV เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ถือเป็นการใช้ยาเพื่อกันเชื้อไวรัส HIV ก่อนการสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis: PrEP) โดยผู้ที่มีความเสี่ยง จะต้องทานยาทุกวัน และพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหลังจากสัมผัสกับความเสี่ยงแล้ว

จากผลการรายงาน พบว่าผู้ที่สัมผัสกับเชื้อ HIV ที่ทานยา ARV ภายใน 72 ชั่วโมง มีผลการตรวจร่างกายเป็นลบ หรือไม่พบเชื้อ HIV  ในขณะที่ผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งสามารถรักษาอาการติดเชื้อจนหายขาดด้วยวิธีการรักษาแบบพิเศษ เช่น การปลูกถ่ายไขกระดูก ดังนั้นเป้าหมายในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นให้ผู้ติดเชื้อมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ รวมทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไวรัส HIV สู่ผู้อื่นได้ ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อจะต้องมีวินัยในการทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง


ทำความรู้จักกับยา PrEP (เพร็พ) และยา PEP (เป็ป)

ทำความรู้จักกับยา PrEP (เพร็พ) และยา PEP (เป็ป)


"หัวใจสำคัญในการลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่นั้น คือ การส่งเสริมเข้าถึงบริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ และ หลังสัมผัสเชื้อ ให้กับประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงให้ได้รับโอกาสการเข้าถึงบริการป้องกันเอชไอวี เพื่อลดการติดเชื้อรายใหม่และลดปัญหาอันเนื่องมาจากโรคเอดส์" 

ยาเพร็พ (PrEP)

PrEP หมายถึง ยาต้านไวรัสป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือก่อนจะมีความเสี่ยง โดยมีงานวิจัยยืนยันชัดเจนว่าสามารถป้องกันการรับเชื้อ HIV ได้ “เกือบ 100%” ซึ่งผู้ที่จะรับบริการยา PrEP จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงจากเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาก่อนได้รับยา และครั้งต่อไปหากผู้รับบริการมีวินัยในการทานยาที่ดี ก็สามารถที่จะตรวจเลือดและรับยากลับบ้านได้เลย โดยที่ไม่ต้องพบผู้ให้คำปรึกษา (PrEP Express)

ยาเพ็พ (PEP)

PEP หมายถึง ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน ที่จ่ายให้กับผู้ใช้บริการที่เพิ่งไปสัมผัสกับเชื้อเอชไอวีมา ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยผู้รับบริการสามารถเข้ามาขอคำปรึกษาจากเจ้าที่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเสี่ยง ซึ่งหากผลการตรวจเลือดในวันนั้นไปพบว่ามีการติดเชื้อ HIV ผู้ใช้บริการจะได้รับยาไปเพื่อป้องกันตนเองไม่ให้รับเชื้อ HIV ได้เลย 

On Demand PrEP เพร็พตามความต้องการ คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี “ก่อน” สัมผัสเชื้อ โดยมีกลไกการทำงานที่จะเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่อาจเข้ามาในร่างกาย ทำให้ไวรัสฯ ไม่สามารถเจริญเติบโต และถูกกำจัดออกไปจากร่างกาย ยาสูตรนี้ เหมาสำหรับผู้ที่ วางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ จะมีวิธีการใช้ที่ค่อนข้างจำเพาะ โดยจะต้องกินยา 2 เม็ด ล่วงหน้า 2-24 ชั่วโมงก่อนที่จะมีความเสี่ยงได้รับเชื้อ และหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ต้องกินยาทุกวัน วันละ 1 เม็ด และกินต่อเนื่องไปอีก 2 วันหลังหมดความเสี่ยง หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย 


สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่า 80% หากมารับยาได้รับยาภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง การได้รับยาเร็ว การกินยาที่ตรงเวลา สม่ำเสมอ จนยาหมดจะส่งผลให้ยามีประสิทธิภาพ ในการป้องกันมากยิ่งขึ้น

เราจะทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อเอชไอวี ? 

เด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีในช่วงแรกอาจไม่มีอาการใด ๆ เพราะโดยทั่วไปใช้เวลาอีก 8-10 ปี จึงจะมีอาการแสดงของโรคเอดส์  ดังนั้น แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองเอชไอวี ในการตรวจสุขภาพประจำปี มีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น เนื่องจากการตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเอดส์ได้ นอกจากนี้หากวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือ เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิซ หนองใน ควรตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี 

การวินิจฉัย HIV และโรคเอดส์มีวิธีการตรวจสอบอย่างไร?

การตรวจวินิจฉัยเอชไอวี (HIV) มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากผู้ที่สงสัยว่าอาจติดเชื้อได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ และรับยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพโดยเร็ว จะช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสพัฒนากลายไปเป็นโรคเอดส์ได้ในอนาคต ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัย HIV ที่มีประสิทธิภาพและได้ผลเร็ว มี 3 ประเภท ได้แก่

ป้องกันการติดเขื้อเอชไอวีได้อย่างไร 

สำหรับการป้องกันวัยรุ่นที่รับเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันได้โดยการให้ความรู้และสร้างทัศนคติให้วัยรุ่นตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ 

ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และคิดว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณากินยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ (หลักการคล้ายกับการใช้ฮอร์โมนยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์) แบ่งเป็น 

กินยาต้านไวรัสหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน (PEP, เพ็พ) โดยกินยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุดภายในเวลาไม่เกิน 3 วันหลังมีความเสี่ยง โดยกินยาต้านไวรัสเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือ กินยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส (PreP, เพร็พ) โดยรับประทานวันละ 1 เม็ดทุกวันในช่วงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง 


สำหรับการป้องกันทารกที่จะติดเชื้อเอชไอวีจากมารดา หากมารดาติดเชื้อเอชไอวีแล้วไม่ทราบหรือไม่ได้ป้องกัน ทารกมีโอกาสติดเชื้อจากมารดาได้ถึง ร้อยละ 25 (หรือ 1 ใน 4) แต่หากหญิงตั้งครรภ์ทราบและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนดีแล้ว โอกาสที่ทารกจะติดเชื้อต่ำลงมาก น้อยกว่า ร้อยละ 1 (น้อยกว่า 1 ใน 100)  การป้องกันทารก ทำได้โดยการตรวจคัดกรองเอชไอวี ในคู่สามี-ภรรยา ที่วางแผนจะมีลูก หรือ เมื่อเริ่มไปฝากครรภ์ หากตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ ให้รีบรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และ ให้ทารกงดนมมารดา และให้ทารกรับประทานยาต้านไวรัสอย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ 

U=U ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่


U แรกหมายถึง Undetectable หรือไม่สามารถตรวจเจอเชื้อเอชไอวี

U ที่สอง Untransmittable ก็คือไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้

เชื้อเอชไอวี เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนแล้ว ทำให้คนนั้นมีสถานะเป็นผู้แพร่เชื้อ หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันกับผู้ที่ไม่มีเชื้อ ก็สามารถส่งต่อเชื้อและเกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ขึ้นมาได้ แต่ในปัจจุบัน ที่การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนามาเรื่อย ๆ ทำให้สามารถรักษาจนผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในสถานะที่ไม่ตรวจเจอเชื้อและไม่แพร่เชื้อ หรือ U=U นั่นเอง

Ucliniclab ให้บริการตรวจหาเชื้อ HIV ตรวจหาปริมาณเชื้อ HIV viral load และตรวจหาภูมิต้านทาน CD4

บริการให้คำปรึกษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์โดยผู้เชี่ยวชาญ

บริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ หนองในแท้ หนองในเทียม

โทร 093-501-7778 ไลน์ @ulab  

https://lin.ee/9HduExK