ซิฟิลิส (Syphilis)
ซิฟิลิส (Syphilis) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา พาลลิดัม (Treponema pallidum) สาเหตุที่ทำให้เป็นแผลซิฟิลิส หรือแผลริมแข็ง (Chancre) ขึ้นเป็นตุ่มนูนแตกออกเป็นแผลกว้างที่ปาก อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก โรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาให้หายตั้งแต่ระยะเป็นแผลจะพัฒนาเข้าสู่ระยะออกดอก และระยะติดเชื้อที่ทำลายระบบประสาท ระบบหลอดเลือดและหัวใจ และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
สาเหตุการเกิดโรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิสเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ทริปโปนีมาพัลลิดุม ( Treponema Pallidum ) ที่อาศัยอยู่ในที่ที่มีความชื้นรูปร่างคล้ายเกลียวสว่าน ถูกทำลายและตายง่ายด้วยความร้อนในที่แห้ง สบู่ หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อ เชื้ออาจมีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น เชื้อจากคนที่เป็นโรคแพร่ลงในแหล่งน้ำ ห้องน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ ฯลฯ จากนั้น เชื้อจะเข้าสู่เยื่อเมือกหรือบาดแผลตามร่างกาย เช่น ช่องปาก เยื่อบุตา ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก เป็นต้น
การติดเชื้อซิฟิลิสนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มติดตั้งแต่ระยะที่ 1 – 2 เป็นระยะที่เชื้อโรคแพร่กระจายได้มากที่สุด แม้กระทั่งการใช้สิ่งของร่วมกับผู้เป็นโรคก็ทำให้ติดเชื้อได้ เช่น ช้อน ส้อม ห้องน้ำ การสวมใส่เสื้อผ้า เป็นต้น แต่เนื่องด้วยเชื้ออ่อนแอและตายง่าย โอกาสที่เชื้อจะติดต่อผ่านการใช้สิ่งของร่วมกันจึงมีน้อยมาก
ดังนั้น สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยที่สุดของการติดเชื้อซิฟิลิส คือ เกิดจากการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากบาดแผลของผู้ป่วย โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นแผลและมีเชื้ออยู่ นอกจากนี้เชื้อยังสามารถแพร่กระจายผ่านทางเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อส่งผ่านเชื้อไปยังลูกได้
อาการซิฟิลิส
อาการและอาการแสดงของโรคแบ่งตามระยะของการติดเชื้อ ออกเป็น 3 ระยะได้แก่
ระยะที่ 1 หรือ ระยะเป็นแผล ( Primary Syphilis ) หรือ แผลริมแข็ง
จะมีอาการหลังติดเชื้อประมาณ 10-90 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นตามผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น ขึ้นที่อวัยวะเพศ ช่องคลอด อัณฑะ หัวหน่าว หัวนม หรือ ขาหนีบ ก็ได้ แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อที่บริเวณใดบ้าง จากนั้น ตุ่มจะขยายกว้างขึ้นและใหญ่ขึ้น แตกออกกลายเป็นแผลกว้าง แผลเป็นรูปกลมหรือ รูปไข่ ก้นแผลคล้ายกระดุม แผลไม่ค่อยเจ็บมาก เรียกว่า “แผลริมแข็ง (chancre)” โดยแผลอาจเป็นแผลเดียวหรือแผลติดกันได้ จากนั้นอีก 1 สัปดาห์เชื้อจะเข้าไปในต่อมน้ำเหลืองทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งช่วงนี้หากตรวจก็จะตรวจพบเชื้อในกระแสเลือด แต่แผลจะหายได้เองใน 3- 10 สัปดาห์
ระยะที่ 2 หรือ ระยะออกดอก ( Secondary Stage ) ใช้เวลาเข้าสู่ระยะนี้ 1-3 เดือน ผู้ป่วยจะมีตุ่มนูนคล้ายหูดขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอวัยวะเพศ รวมไปถึงส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก บางรายมีอาการเจ็บคอ มีปื้นขาวในปาก เริ่มเป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดลง ผมร่วง จากนั้นอาการจะเริ่มสงบและหายไป แม้ไม่ได้รักษา แต่เชื้อก็จะยังอยู่ในร่างกายเช่นกัน
ระยะที่ 3 คือ ระยะติดเชื้อ ( Tertiary Syphilis ) เป็นระยะที่เชื้อโรคพัฒนาเป็นระยะสุดท้ายจนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง เส้นประสาท หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะนั้น เกิดอาการ “อัมพาต” ไม่สามารถทำงานได้ เช่น ตาบอด สมองเสื่อม หูหนวก ไร้สมรรถภาพทางเพศ เสียสติ และเสียชีวิตในที่สุด
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ลักษณะผื่นซิฟิลิส
ใครมีความเสี่ยงควรตรวจเชื้อซิฟิลิส
ผู้ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เปลี่ยนคู่นอน บ่อยๆ
ไม่ได้ป้องกัน
ผู้ที่สงสัยคู่นอนของตัวเองมีอาการป่วยคล้ายกับโรคซิฟิลิส
หญิงกำลังตั้งครรภ์ อาจตรวจเพื่อความมั่นใจว่าไม่มีเชื้อแฝงอยู่
นอกจากนี้ยังแนะนำ สำหรับคู่ที่กำลังแต่งงาน หรือ ผู้หญิงที่เตรียมพร้อมจะมีบุตร แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่ามีความเสี่ยง ต่อโรคซิฟิลิส หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วยหรือไม่ เพราะหากติดเชื้อจริงๆ อย่างน้อยก็สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลาม และโดยทั่วไป คนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ประมาณปีละครั้ง
โรคซิฟิลิสติดต่อได้อย่างไร
โรคซิฟิลิส สามารถติดได้ผ่านจากคนสู่คน จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้วยการสัมผัสโดยตรงกับแผลที่มีเชื้อซิฟิสิส ซึ่งแผลนี้จะอยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกช่องคลอด ปากทวารหนัก หรือที่ทวารหนัก
จึงสามารถติดต่อต่อกันได้ ขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดทวารหนักหรือทางปาก นอกจาก โรคซิฟิลิส นี้ยังสามารถติดต่อผ่านได้จากแม่สู่ลูก โดยสตรีที่ตั้งครรภ์สามารถผ่านเชื้อนี้ไปให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ หรือระหว่างการคลอดได้ การติดเชื้อกรณีนี้จะเรียกว่า โรคติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิด (Congenital syphilis) ซึ่งนับเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง ส่งผลให้เด็กมีอาการหูหนวก ตาบอดมีความผิดปกติทางโครงสร้างต่างๆ รวมถึงความผิดปกติทางระบบประสาทในเด็กได้ และมีผลร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิต
แต่เชื้อนี้จะไม่สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสภายนอก เช่น ใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน การนั่งโถส้วม หรือ ช้อนส้อม หรือการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ แบบที่หลายคนกังวล ดังนั้นหากใครกลัว โรคซิฟิลิสระบาด แล้วจะมาถึงตน ก็วางใจได้
ภาวะแทรกซ้อนหลังจากเป็นโรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิสจะมีความรุนแรงและอันตรายมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เนื่องจากเชื้อสามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกายและส่งผลร้ายต่ออวัยวะสำคัญ อีกทั้ง ซิฟิลิส ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ง่าย สุดท้ายอาจลงเอยด้วยความพิการและเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือ ทารกในครรภ์
การวินิจฉัยโรคซิฟิลิส
ปัจจุบัน สามารถตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ได้จากการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดซิฟิลิส มีความแม่นยำสูง และทราบผลตรวจได้เร็ว โดยเฉลี่ยรอผลตรวจประมาณ 15-30 นาที สามารถตรวจเช็คได้โดยไม่ต้องมีอาการแสดง หรือผื่น แผล มี 2 วิธีคือ
การเจาะเลือดที่เจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส เพื่อยืนยันการวินิจฉัย แต่การมีแผลบริเวณอื่น ๆ ที่เปิดอยู่แล้วการตรวจในบ้างครั้งอาจมีการเก็บตัวอย่างของเหลวจากแผลไปทดสอบได้เช่นกัน
ตรวจเลือดเพิ่มเพื่อดูปริมาณซิฟิลิสในเลือด หรือเรียกว่า VDRL สามารถรู้ผลใน 1 วัน เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal Fluid Test ) จะทำในกรณีสงสัยการติดเชื้อในระบบประสาท
แค่จูบปากก็สามารถติดเชื้อซิฟิลิสได้
แม้โรคซิฟิลิสจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถติดต่อได้ทางอื่นด้วย ผ่านการสัมผัสแผลโดยตรงของผู้ติดเชื้อ ทั้งจากผิวหนัง เยื่อบุตา หรือปาก ในกรณีการจูบปาก กับผู้ที่มีแผลซิฟิลิสในปาก ก็สามารถติดเชื้อจากเขาได้เช่นกัน แต่จากสถิติ สามารถพบได้น้อยมาก แต่สามารถพบได้ รวมถึงกรณี ใช้ปาก เลียแผล สัมผัสแผลที่มีเชื้อซิฟิลิส ทั้งบริเวณในช่องปาก ลิ้น อวัยวะเพศ หรือช่องทวารหนัก ก็สามารถติดต่อ
ซิฟิลิสติดทางน้ำลายไหม
โรคซิฟิลิส สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย การใช้ช้อนส้อม หรือดื่มน้ำแก้วเดียวกันลักษณะนี้ เชื้อไม่สามารถติดต่อกันได้
ซิฟิลิสกับเอดส์เหมือนกันไหม
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคซิฟิลิส และโรคเอดส์ เป็นโรคคนละชนิด และเกิดจากเชื้อแบคทีเรียต่างกัน
โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
โรคเอดส์เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส หรือ HIV
โรคเอดส์ หรือ เชื้อไวรัส HIV จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อถูกทำลาย จึงมีโอกาสติดเชื้ออื่นได้ซ้ำโดยง่าย นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์สามารถได้รับเชื้อซิฟิลิสได้
ซิฟิลิสรักษาให้หายขาดได้ไหม
โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ ยิ่งตรวจพบได้เร็ว ผลการรักษายิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หากรู้สึกสงสัยหรือพบอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็น โรคซิฟิลิส หรือไม่ ทางที่ดีคือ อย่าละเลย ควรรีบไปพบแพทย์และรับการรักษาอย่างเหมาะสม ทั้งตนเองและคู่นอน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา และหากไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อ จึงควรศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองเพื่อมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยที่สุด